เกลือสินเธาว์

ชื่อเครื่องยา

เกลือสินเธาว์

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

เกลือหิน เกลือเทศ เกลือบก

ได้จาก

เกลือแกงที่ได้จากใต้ดิน (ได้จากดินเค็ม ดินโป่ง)

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

-

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

-

ชื่อวิทยาศาสตร์

-

ชื่อพ้อง

-

ชื่อวงศ์

-

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

          เป็นผลึกสีขาว รสเค็ม

 

เครื่องยา เกลือสินเธาว์

 

เครื่องยา เกลือสินเธาว์

 

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

          เกลือสินเธาว์ เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นเป็นผลึกรูปลูกบาศก์ จุดหลอมเหลว 800 ºC

 

สรรพคุณ:

          ตำรายาไทย เกลือสินเธาว์ มีรสเค็ม ทำลายพรรดึก (แก้ท้องผูก) ล้างเมือกในลำไส้ ขับพยาธิในท้อง แก้ระส่ำระสาย แก้สมุฎฐานตรีโทษ ละลายนิ่ว ถ่วงเสมหะให้ลงเบื้องต่ำ รักษาเนื้อหนังไม่ให้เน่าเปื่อย บำรุงธาตุทั้ง 4  แก้น้ำดีพิการ แก้น้ำเหลืองเสีย

ตามสรรพคุณยาแผนโบราณ มีการนำเกลือสินเธาว์ไปใช้ร่วมกับเกลือชนิดอื่น ได้แก่ “เกลือด่างคลี” เป็นส่วนผสมของเกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ และด่างขี้เถ้า ที่ได้จากการเผาหญ้าพันธุ์งู มีสรรพคุณช่วยชำระล้างลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการ

          เกลือสินเธาว์ จัดอยู่ในพิกัด “เกลือทั้งห้า” คือการจำกัดจำนวนของเกลือ ซึ่งประกอบด้วยเกลือ 5 ชนิด ในอัตราส่วนเท่ากัน ได้แก่ เกลือสินเธาว์ เกลือพิก เกลือวิก เกลือฟอง(ฝ่อ) และเกลือสมุทรี สรรพคุณ แก้ไข้พรรดึก แก้ท้องมาน แก้เสมหะ แก้บิดมูกเลือด บำรุงน้ำเหลือง ชำระเมือกมันในลำไส้

          บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้เกลือสินเธาว์ในตำรับ “ยาประสะไพล” มีส่วนประกอบของเกลือสินเธาว์ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร  ในตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของเกลือสินเธาว์ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

          ก่อนนำมาปรุงยา มักนำเกลือมาสะตุก่อน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค และกำจัดความชื้น โดยผ่านการคั่วที่อุณหภูมิสูงจนความชื้น และน้ำระเหยออกไปหมด

 

องค์ประกอบทางเคมี:

          มีสูตรทางเคมี NaCl (เป็นเกลือที่ไม่มีธาตุไอโอดีน)

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:  -

การศึกษาทางคลินิก:         -

อาการไม่พึงประสงค์:        -

การศึกษาทางพิษวิทยา:    -

 

ข้อมูลตำรับยาแก้ลมอัมพฤกษ์  : www.thai-remedy.com


Copyright © 2010 thaicrudedrug.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting