ชิงชี่

ชื่อเครื่องยา

ชิงชี่

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ราก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

ชิงชี่

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

กระดาดป่า (ชลบุรี) ชายชู้ หมากมก (ชัยภูมิ) หนวดแมวแดง (เชียงใหม่) คายซู (อุบลราชธานี) พญาจอมปลวก กระดาดขาว กระโรกใหญ่ กินขี้ จิงโจ้ แสมซอ ค้อนฆ้อง ซิซอ เม็งซอ ราม แส้ม้าทะลาย พุงแก น้ำนอง น้ำนองหวะ เม็งซอ พวงมะละกอ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Capparis micracantha DC.

ชื่อพ้อง

Capparis bariensis Pierre ex Gagnep. Capparis billardieri DC. Capparis callosa Blume Capparis conspicua Wall. Capparis donnaiensis Pierre ex Gagnep. Capparis forsteniana Miq. Capparis hainanensis Oliv. Capparis liangii Merr. & Chun Capparis micracantha subsp. micracantha Capparis myrioneura Hallier f. Capparis odorata Blanco Capparis petelotii Merr. Capparis roydsiifolia Kurz Capparis venosa Merr.

ชื่อวงศ์

Capparaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

          เปลือกสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเหลือง ผิวชรุขระเล็กน้อย พบร่องและรอยแตกตามยาว เนื้อไม้ตัดตามขวางสีเหลืองอ่อนๆ มีลายเป็นวงจางๆ

 

เครื่องยา รากชิงชี่

 

เครื่องยา รากชิงชี่

 

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

            ปริมาณความชื้น ไม่เกิน 8.0% w/w, ปริมาณเถ้ารวม ไม่เกิน 4.0% w/w,  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 1.0% w/w, ปริมาณสารสกัด ethanol ไม่ต่ำกว่า 2.0% w/w,  ปริมาณสารสกัดน้ำ ไม่ต่ำกว่า 7.0% w/w (Department of Medical Sciences, 2018)

 

 

สรรพคุณ:

          ตำรายาไทย รากรสขมขื่น แก้โรคที่เกิดในท้อง ขับลมภายใน แก้ไข้ร้อนในทุกชนิด ไข้พิษ แก้โรคตา โรคกระเพาะ รักษามะเร็ง ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ และเป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร แก้ไอเนื่องจากหลอดลมอักเสบ แก้หืด  รากชิงชี่ใช้ใน “พิกัดเบญจโลกวิเชียร” (ยาแก้วห้าดวง หรือยาห้าราก) ซึ่งได้จากรากไม้ 5 ชนิดคือ รากชิงชี่ รากคนทา รากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร และรากย่านาง มีสรรพคุณ แก้ไข้ต่างๆ กระทุ้งพิษหรือถอนพิษต่างๆ รากและใบ ใช้ภายนอก ตำพอกแก้ฟกบวม ทั้งต้น รสขื่นปร่า ตำพอกแก้ฟกช้ำ บวม แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย

          บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้ชิงชี่ในตำรับ “ยาห้าราก” มีส่วนประกอบของรากชิงชี่ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการไข้

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:  -

องค์ประกอบทางเคมี:        -

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ต้านเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

        สารสกัดจากรากชิงชี่ด้วยเอทานอล นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ด้วยวิธี disc diffusion method โดยใช้สารสกัดขนาด 10 mg/disc พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อ β-streptococcus group A และ Pseudomonas aeruginosa ได้ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณที่เชื้อไม่เจริญ เท่ากับ 18.2 และ 13.2 มิลลิเมตร ตามลำดับ เชื้อ β-streptococcus group A ทำให้เกิดการเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ไข้รูมาติก ช่องหูอักเสบ ไตอักเสบเฉียบพลันตามมาหลังการติดเชื้อ เป็นต้น  เชื้อ Pseudomonas aeruginosa  ทำให้ปอดอักเสบ ปอดบวม ช่องหูอักเสบ เป็นต้น (อารีย์รัตน์ และคณะ, 2531)

 

การศึกษาทางคลินิก:         -

อาการไม่พึงประสงค์:        -

การศึกษาทางพิษวิทยา:    -

 

เอกสารอ้างอิง:

      อารีย์รัตน์  ลออปักษา, สุรัตนา อำนวยผล และวิเชียร จงบุญประเสริฐ. การศึกษาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ (ตอนที่ 1). ไทยเภสัชสาร. 2531;13(1):23-36.

      Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health, Thailand. 2018. Thai Herbal Compendium on physico-chemical specifications volume II. MiraCulous Company Limited:Pathumtani.

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา     : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง              :  www.thaiherbarium.com

ข้อมูลตำรับยาห้าราก            : www.thai-remedy.com


Copyright © 2010 thaicrudedrug.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting