งา

ชื่อเครื่องยา

งา

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

งาขาว งาดำ

ได้จาก

เมล็ด

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

งา

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

งาขาว งาดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Sesamum indicum L.

ชื่อพ้อง

Sesamum orientale

ชื่อวงศ์

Pedaliaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เมล็ดแบน รูปไข่ สีดำ (งาดำ) และนวล (งาขาว) ผิวเป็นมัน เนื้อชุ่มน้ำมัน น้ำมันจากเมล็ดมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน เมล็ดรสฝาด หวาน ขม  น้ำมัน รสฝาดร้อน

 

เครื่องยา งาขาว

 

เครื่องยา งาดำ

 

เครื่องยา งาขาว งาดำ

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

            ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้น้ำมันระเหยยากที่บีบจากเมล็ด หุงเป็นน้ำมันใส่บาดแผล และผสมเป็นน้ำมันทาถูนวดแก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ ปวดบวม ลดการอักเสบ ใส่แผลรักษาอาการผื่นคัน ทำน้ำมันใส่ผม เป็นยาระบายอ่อนๆ ทาผิวหนังให้นุ่มและชุ่มชื้น หญิงไทยโบราณใช้ทาเพื่อประทินผิว สรรพคุณพื้นบ้านกล่าวว่า เมล็ด ทำให้เกิดกำลัง ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่ทำให้ดีกำเริบ น้ำมัน ทำน้ำมันใส่แผล ใส่แผลเน่าเปื่อย มักใช้ผสมยาทาสำหรับกระดูกหัก บำรุงเอ็น ไขข้อ ทานวดแก้เคล็ดยอก ปวดบวม หรือใช้ทาบำรุงรากผม
           ตำรับยาสมุนไพรล้านนา: ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน น้ำร้อนลวก ไฟไหม้
           ตำรับยาน้ำมันที่ระบุในตำราพระโอสถพระนารายณ์: มีรวม 3 ตำรับ ที่ใช้น้ำมันงาเป็นส่วนประกอบ ดังนี้ “น้ำมันทรงแก้พระเกศาหล่น (ผมร่วง)ให้คันให้หงอก” ประกอบด้วยสมุนไพร 19 ชนิด นำมาต้มแล้วกรองกากออก เติมน้ำมันงา แล้วหุงให้เหลือแต่น้ำมันใช้แก้พระเกศาหล่อน คัน หงอก “น้ำมันแก้เปื่อยพัง” มีสรรพคุณ แก้ขัดเบาหรือปัสสาวะไม่ออก แก้ปวดขบ แก้หนอง มีรวม 2 ตำรับ แต่ละตำรับ ประกอบด้วยสมุนไพร 12 ชนิด และน้ำมันงาพอควร หุงให้เหลือแต่น้ำมัน ยานี้ใช้ ยอนเป่าเข้าไปในลำกล้อง (ทางเดินปัสสาวะในองคชาติ)


รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
            ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
    เมล็ดมีน้ำมันอยู่ราว 45-55% ประกอบด้วยกรดไขมันเช่น oleic acid, linoleic acid, palmitic acid, stearic acid, นอกจากนี้ยังมี สารกลุ่ม lignan, ชื่อ sesamol, d-sesamin, sesamolin, สารอื่นๆเช่น ?-sitosterol  สารกันหืนคือ sesamol ทำให้น้ำมันงาไม่เหม็นหืน

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
    น้ำมันงามีคุณสมบัติในการเสริมฤทธิ์ของดอกไพรีธัม ให้มีฤทธิ์ในการเป็นยาฆ่าแมลงให้ดีขึ้นกว่าเดิม 2 เท่า (ไม่สลายตัวเร็ว อยู่คงทนกว่าเดิม เมื่อนำไปฉีดพ่นแมลง) ดังนั้น จึงมักใช้น้ำมันงาเป็นตัวละลายสิ่งสกัดที่ได้จากดอกไพรีธัม(ยาฆ่าแมลง ที่ค่อนข้างปลอดภัยต่อสัตว์เลือดอุ่น)

การศึกษาทางคลินิก:
    ใช้เป็นตัวทำละลายในยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

การศึกษาทางพิษวิทยา:
            ไม่มีข้อมูล


Copyright © 2010 thaicrudedrug.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting