บุก

ชื่อเครื่องยา

บุก

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

หัวใต้ดิน

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

บุก

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

มันซูรัน (กลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ(สกลนคร) กระบุก(บุรีรัมย์) บุกรอ หัววุ้น

ชื่อวิทยาศาสตร์

Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson.

ชื่อพ้อง

Amorphophallus campanulatus

ชื่อวงศ์

Araceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           หัวใต้ดินขนาดใหญ่ สีน้ำตาล มีอายุอยู่ได้นานหลายปี หัวบุกมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 15 เซนติเมตรขึ้นไป หัวสีน้ำตาล ผิวขรุขระ เนื้อในหัวสีชมพูสด เหลืองอมชมพู หรือขาวเหลือง หัวสดมีเมือกลื่น หัวสดอาจหนักถึง 20 กก. มีรสเบื่อเมา คัน

 

เครื่องยา บุก

 

เครื่องยา หัวบุก

 

หัวบุกสด และ ผล

 

หัวบุกสด

 

หัวบุกสด

 

หัวบุกสด

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: หัว มีรสเบื่อเมา คัน กัดเสมหะเถาดาน แก้เลือดจับเป็นก้อน หุงกับน้ำมัน ใส่บาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองดี เป็นอาหารดูดสารพิษ ขจัดไขมันในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น และปรุงอาหารรักษาสุขภาพ นำหัวมาต้มกับน้ำ แก้โรคตับ โรคท้องมาน ยากัดเสมหะ แก้ไอ
           ญี่ปุ่น: ใช้ทำอาหารลดความอ้วน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ผงบุก 3-5 กรัม ต่อวัน หรือ เฉลี่ยครั้งละ 1 กรัม โดยกินก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง แล้วดื่มน้ำตาม 1-2 แก้ว แป้งบุกนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มรูปแบบต่างๆ สำหรับลดน้ำหนัก ลดความอ้วน และลดไขมันในเลือด

องค์ประกอบทางเคมี:
           หัวประกอบด้วยกลูโคแมนแนน (Glucomannan) เป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีน้ำหนักมวลโมเลกุลสูงมาก (ultra-high molecular-weight polysaccharide) คือประมาณ  2,000,000 ดัลตัน สกัดได้จากหัวใต้ดิน โดยผ่านขั้นตอนการล้าง และสกัดสารพิษต่างๆออก โดยเฉพาะสารที่ทำให้เกิดอาการคันคอ หรือระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร โมเลกุลของกลูโคแมนแนน ประกอบด้วยน้ำตาลสองชนิดคือ กลูโคส และแมนโนส ในสัดส่วน 2:3 โดยประมาณ เชื่อมต่อกันระหว่างคาร์บอนตำแหน่งที่ 1 ของน้ำตาลชนิดที่สอง กับคาร์บอนตำแหน่งที่ 4 ของน้ำตาลชนิดแรก แบบ ?-1, 4-glucosidic linkage แตกต่างจากแป้งที่พบในพืชทั่วๆไป จึงไม่ถูกย่อยโดยกรด และน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เพื่อให้น้ำตาลที่ให้พลังงานได้ แป้งจากหัวบุกประกอบด้วย กลูโคแมนแนน ประมาณ 90% และสิ่งเจือปนอื่นๆ เช่น starch, alkaloid, สารประกอบไนโตเจนต่างๆ sulfates, chloride, และสารพิษอื่น และตรวจพบผลึกของแคลเซียมออกซาเลทในเนื้อหัวบุกป่าจำนวนมาก กลูโคแมนแนสามารถดูดน้ำ และพองตัวได้ถึง 200 เท่า ของปริมาณเดิม เมื่อกินกลูโคแมนแนนครั้งละ 1 กรัม โดยประมาณ ก่อนอาหารราวครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง กลูโคแมนแนนจะดูดน้ำที่มีมากในกระเพาะอาหาร แล้วพองตัวทำให้รู้สึกอิ่มในระดับหนึ่ง จึงกินอาหารได้น้อยลง

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           1. ใช้ในการควบคุมน้ำหนักตัว และลด cholesterol กลูโคแมนแนนที่พองตัวจะห่อหุ้มอาหารที่กินเข้าไป ไม่ให้สัมผัสกับน้ำย่อย จึงใช้ในการควบคุมน้ำหนักตัว นอกจากนี้ยังสามารถดูดซับไขมัน และกรดน้ำดี (bile acid) และขับถ่ายออกนอกร่างกาย จึงช่วยลดระดับ cholesterol และ triglyceride
           2. ลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากลดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคส
           3. ช่วยในการขับถ่าย และระบาย การพองตัวของกลูโคแมนแนนในทางเดินอาหาร จะกระตุ้นทางเดินอาหารส่วนล่าง โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ให้บีบตัวขับกากอาหารที่คั่งค้างออกมา จึงอาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้
           โดยสรุปกลูโคแมนแนน ที่สกัดได้จากบุก นอกจากใช้ในการควบคุมน้ำหนัก ยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล (จากกรด และน้ำย่อย) และมีผลช่วยผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง และเบาหวานได้

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ตรวจพบผลึกของแคลเซียมออกซาเลทในเนื้อหัวบุกป่าจำนวนมาก ทำให้คัน

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com


Copyright © 2010 thaicrudedrug.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting