มะขามแขก

ชื่อเครื่องยา

มะขามแขก

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

ใบ ฝัก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

มะขามแขก

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cassia acutifolia Del. (Cassia senna L. Senna alexandrina P. Miller) C. angustifolia Vahl.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Caesalpiniaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ใบแห้งของมะขามแขกชนิด C. angustifolia มีสีเขียวอมน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปวงรี หรือรูปใบหอก กว้าง 1.0-1.5 ซม.ยาว 2.5-5.0 ซม. มีขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองไม่เท่ากัน และมีขนนุ่มปกคลุม ส่วนใบแห้งของมะขามแขกชนิด C. acutifolia มีรูปร่างป้อมและสั้นกว่าชนิดแรก โดยยาวไม่เกิน 4 ซม. และมักพบใบหักมากกว่าชนิดแรก ใบมะขามแขก มีกลิ่นเหม็นเขียว รสเปรี้ยว หวาน ชุ่ม

 

เครื่องยา ใบมะขามแขก

 

เครื่องยา ใบมะขามแขก

 

เครื่องยา ใบ และ ฝัก มะขามแขก

 

เครื่องยา  ฝักมะขามแขก

 

 

เครื่องยา  ฝักมะขามแขก


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
              ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 5% w/w, ปริมาณความชื้นไม่เกิน 12% w/w, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 12% w/w, ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 2% w/wใบมีปริมาณสาร sennosides รวม ไม่น้อยกว่า 1% (sennoside A และ sennoside B) (เภสัชตำรับเกาหลี)         

             ใบมีไฮดรอกซีแอนทราซีน กลัยโคไซด์ ไม่น้อยกว่า 2.5% และฝักไม่น้อยกว่า 2.2% (WHO)

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เป็นยาระบายท้อง แก้ท้องผูก ขับลมในลำไส้ ทำให้อาเจียน ถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายพิษไข้ ถ่ายโรคบุรุษ ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวงทวาร ใบทำให้ไซ้ท้องมากกว่าฝัก ควรใช้ร่วมกับตัวยาขับลม เช่นกระวาน หรือกานพลู เป็นต้น เหมาะกับคนที่กำลังน้อย หรือเด็ก และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ใช้แก้อาการท้องผูกใช้ ใบแห้งวันละ 3-10 กรัม (1-2 ? กำมือ) ต้มกับน้ำดื่ม หรือบดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือฝัก 4-5 ฝัก ต้มกับน้ำจำนวนพอเหมาะ ดื่มก่อนนอน

องค์ประกอบทางเคมี:
           ใบ และฝัก มีสารกลุ่มไฮดรอกซีแอนทราซีน กลัยโคไซด์ ได้แก่ sennoside A, B, C, และ D , rhein, aloe emodin, emodin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ช่วยขับถ่ายอุจจาระ ต้านการก่อกลายพันธุ์ ต้านเชื้อแบคทีเรีย  

การศึกษาทางคลินิก:
           ช่วยขับถ่ายอุจจาระในผู้ป่วยท้องผูกได้

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน สารสกัด 50% เอทานอลจากส่วนเหนือดิน เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรมีค่า LD50 เท่ากับ 681 มก./กก. นน.ตัว สารสกัด 95% เอทานอล ส่วนเหนือดินเมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรมีค่า LD50 เท่ากับ 500 มก/กก. นน.ตัว ไม่ปรากฏพิษ

ข้อควรระวัง:  
           1.อาจทำเกิดอาการไซ้ท้อง (ปวดมวนท้อง)
           2.ควรใช้รักษาอาการท้องผูกเป็นครั้งคราว ในระยะเวลาสั้นๆ เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนานจะทำให้ลำไส้ชินต่อยา ต้องใช้ยาตลอดจึงจะถ่ายได้ จึงควรแก้ไขที่ต้นเหตุ เช่น รับประทานผักหรืออาหารมีกากใย ดื่มน้ำเพียงพอ ออกกำลังกาย ขับถ่ายให้เป็นเวลา ใช้ยาเท่าที่จำเป็น และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์
           3.การใช้ยาติดต่อกันนานอาจทำให้ระดับอีเลคโตรไลต์ในเลือดต่ำ ร่างกายสูญเสียโปแตสเซียม เลือดมีภาวะเป็นกรดหรือด่าง การดูดซึมผิดปกติ น้ำหนักลด ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุและอาจทำลายเซลล์ประสาทในลำไส้
           4. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี สตรีตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร สตรีมีประจำเดือน ผู้ป่วยที่เป็นโรคอุดตันในทางเดินอาหารและโรคลำไส้ใหญ่ส่วนล่างอักเสบ


Copyright © 2010 thaicrudedrug.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting